คลังข้อสอบออนไลน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
แบบทดสอบวิชา สค32032 การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3
1)  ข้อใดคือสาเหตุของการเกิดไฟป่ามากที่สุด
  ฟ้าผ่า
  กิ่งไม้เสียดสี
  การหาของป่า
  การระเบิดหิน
   
2)  ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง ขณะเกิดดินโคลนถล่ม
  สังเกตและเฝ้าระวังน้ำและดิน
  ตั้งสติ แล้วรวบรวมอุปกรณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้เมื่อประสบเหตุ
  สังเกตลักษณะบริเวณโดยรอบที่ตั้งของชุมชนและบริเวณที่เสี่ยงภัยจากดินโคลนถล่ม
  แจ้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้นำชุมขนให้ทราบโดยเร็วเพื่อเตรียมรับมือ
   
3)  พายุที่เกิดในทวีปอเมริกา เรียกว่าพายุอะไร
  พายุไต้ฝุ่น
  พายุบาเกียว
  พายุไซโคลน
  พายุทอร์นาโด
   
4)  ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  สาธารณสุขประจำตำบล
  อบต. หรือ เทศบาลประจำตำบล
  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
  ป้องกันและบรรเทาภัยสาธารณะภัย (ปภ.) ประจำจังหวัด
   
5)  ข้อใด ไม่ควรปฏิบัติ เมื่อต้องเดินลุยน้ำท่วมคือข้อใด
  เดินเข้าใกล้เสาไฟฟ้า
  แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มิดชิด
  นำถุงพลาสติกหุ้มเท้าแล้วรัดด้วยยางอีกชั้นเพื่อป้องกันปลิง
  ใช้ไม้เขี่ยหรือกระทุ้งน้ำให้กระจายเพื่อให้สัตว์ร้ายตกใจและหนีไป
   
6)  เมื่อพายุสงบแล้ว เพทาอให้แน่ใจว่า สงบแน่นอน ควรรออย่างน้อยกี่ชั่วโมง
  1 ชั่วโมง
  2 ชั่วโมง
  3 ชั่วโมง
  4 ชั่วโมง
   
7)  ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดภัยแล้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
  การตัดไม้ทำลายป่า
  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  การทำลานชั้นโอโซน
  ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
   
8)  จากเหตุการณ์ ดินโคลนถล่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 -2554 เหตุการณ์ใดเกิดจากผลกระทบของพายุนกเต็น
  22 พฤษภาคม 2549 พื้นที่อำเภอลับแล อำเภอเมือง และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
  9 ตุลาคม 2549 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
  3 สิงหาคม 2554 บ้านปู่ทา ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  28 กันยายน 2554 บ้านเมืองก๋าย ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
   
9)  ข้อใดเรียงลำดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนจากน้อยไปหามากได้ถูกต้อง
  ไต้ฝุ่น > โซนร้อน > ดีเปรสชั่น
  โซนร้อน > ไต้ฝุ่น > ดีเปรสชั่น
  ดีเปรสชั่น > ไต้ฝุ่น > โซนร้อน
  ดีเปรสชั่น > โซนร้อน > ไต้ฝุ่น
   
10)  ข้อใด ไม่ใช่ ภัยพิบัติที่มีผลสืบเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่า
  ภัยแล้ง
  แผ่นดินไหว
  แผ่นดินถล่ม
  น้ำท่วมฉับพลัน